ขอแสดงความยินดีกับศิษย์รุ่นที่ 1/2552 แผนกการจัดการทั่วไป B.T.Ad

ขอแสดงความยินดีกับศิษย์รุ่นที่ 1/2552 แผนกการจัดการทั่วไป B.T.Ad

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

**งานนอกวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

** ให้นักศึกษา ทำรายงานประจำวิชา

ในแบบรูปเล่มรายงาน ให้ถูกต้อง

จำนวนหน้า 20 หน้าขึ้นไป

ให้ทำโดย พิมพ์ หรือ เขียนก็ได้


เรื่องที่ให้ทำ คือ...

..ให้นักศึกษาไปค้นคว้า หาประวัติบริษัทต่างๆ ตั้ง 10 บริษัทขึ้นไป

1..ชื่อบริษัท
2..ประวัติความเป็นมา และสถานที่ตั้ง..
3..ลักษณะของการประกอบธุรกิจ
4..อื่นๆที่เกี่ยวกับบริษัท ที่เห็นว่าควรนำเสนอ


...........กำหนดส่ง สัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบปลายภาค 2/2552 เท่านั้น...........

-การสร้างทีม

การสร้างทีม


ความคิดรวบยอด

-----

จุดประสงค์การเรียนรู้
1 บอกความหมายของการสร้างทีมได้
2 บอกความสำคัญของการสร้างทีมได้

3.บอกวัตถุประสงค์ของการสร้างทีมได้
4.บอกส่วนประกอบของการสร้างทีมได้
5.อธิบายมิติของการพัฒนาทีมได้
3 บอกทักษะที่จำเป็น และขั้นตอนของการสร้างทีมได้
4 บอกแนวทางในการพัฒนาทีมให้มีประสิทธิภาพได้



.......................

การสร้างทีมงาน
ความหมายของทีม
การสร้างทีมงาน, ผศ.ดร.สุนันทา เลาหนันทน์, หน้า ๖๐–๖๒) ฟรานซิส และยัง (Francis and Young, 1979: 8) ได้กล่าวถึงทีมว่าหมายถึง กลุ่มบุคคลผู้มีพลัง มีความผูกพันรับผิดชอบ ที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน สมาชิกในทีม เป็นผู้ที่ร่วมทำงาน ด้วยกันได้ดี และรู้สึกเพลิดเพลินที่จะทำงานนั้น สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูง
ปาร์คเกอร์ (Parker, 1990:16) อธิบายว่าทีมเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและต้องพึ่งพากัน เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือปฏิบัติงาน ให้เสร็จสมบูรณ์ คนกลุ่มนี้มีเป้าหมายร่วมกันและยอมรับว่า วิธีเดียวที่จะทำให้งานสำเร็จ คือ การทำงานร่วมกัน
วิชัย โถสุวรรณจินดา (2535:142) ได้แสดงทัศนะว่า ทีมงานนั้นกินความหมายมากกว่ากลุ่มคน ที่มารวมกันเฉยๆ เพราะทีมงานจะรวมความถึง ความเป็นผู้นำกลุ่ม กระบวนการตัดสินใจของกลุ่ม การใช้ทรัพยากรของกลุ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการผสมผสานสมาชิกของกลุ่มซึ่งจะมีผลต่อการทำงานร่วมกัน เป้าหมายของการสร้างทีมงาน จึงเป็น การสร้างทีมงาน ที่มีการทำงานอย่างมี ชีวิตชีวา แทนที่จะเป็นเหมือน เครื่องจักร และ มีการประสาน การทำงาน ของสมาชิกทุกคน ในทีมให้มุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน เมื่อพิจารณาจากความหมายดังกล่าวข้างต้น
จึงสรุปได้ว่า ทีมหมายถึง กลุ่มของบุคคลที่ทำงาน ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ช่วยกันทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เดียวกัน อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ร่วมงานต่างมี ความพอใจในการทำงานนั้น สำหรับ การสร้างทีมงาน นั้นสรุปได้ว่า หมายถึง ความพยายามทำให้ กลุ่มสามารถเรียนรู้การวินิจฉัยปัญหา เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ต่างๆ ในการทำงานให้ดีขึ้นทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ จะมีผลต่อการทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย ดังนั้น ผู้บริหารงานที่จะประสบความสำเร็จ จำเป็นจะต้องหล่อหลอมทีมงานให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้จักหาวิธีจูงใจที่ให้เขาเหล่านั้นทำงานด้วยความสมัครใจและเต็มใจ

จุดประสงค์ของการสร้างทีม
จุดเน้นของการสร้างทีมงาน คือ การทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน การสร้างทีมงาน จึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังนี้
1. เพื่อสร้างความไว้วางใจกันในหมู่สมาชิกทีมงาน
2. เพื่อแสวงหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน สมาชิกของทีมจะทำงานได้ดีขึ้นเมื่อมีการเปิดเผยจริงใจต่อกัน มื่อมีปัญหาจะได้ช่วยกันแก้ไข
3. เพื่อเสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญให้มากขึ้น ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการใช้ศักยภาพ ของ ทีมงาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับในทางสร้างสรรค์แก่องค์การ
5.เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่จะรับฟังความคิดเห็นและข่าวสารของผู้อื่นอย่างตั้งใจ และให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน
6.เพื่อพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาร่วมกัน
7. เพื่อช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล
8. เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้สมาชิกของทีม
9. เพื่อเสริมสร้างขวัญและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
10. เพื่อปรับปรุงการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม

ความสำคัญของการสร้างทีมงาน
ความสำคัญของการสร้างทีมงาน ในแง่ของการทำงานเป็นทีม คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมี ประสิทธิภาพ แล้วก็การปฏิบัติงานต่างก็ได้รับความพอใจในผลงานนั้น ๆ ประโยชน์มีมากมาย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่นการ แข่งขันกีฬาไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล วอลเลย์บอล หรือตะกร้อที่จะต้องทำงานประสานกันเป็นทีม ถ้าไม่มีการวางแผนหรือมีการที่จะทำ ให้การประสานการเป็นทีม ชัยชนะก็จะไม่เกิดยกตัวอย่างอย่างเล่นฟุตบอลง่าย ๆ ฉะนั้นประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมสมาชิกใน ทีมจะต้องได้มีการพัฒนาเต็มความสามารถของตน ได้รับเปลี่ยนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์กับเพื่อนร่วมทีมทำให้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังความคิดเห็นและการสื่อสารกัน นั่นคือความสำคัญข้อที่ 1
ดังนั้นพอสรุปได้ดังนี้
1.งานบางอย่างไม่สามารถทำสำเร็จเพียงคเดียว 2.งานที่เร่งด่วนต้องระดมบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานให้เสร็จทันเวลที่กำหนด
3.งานบางอย่างต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญจากหลายฝ่าย
4.งานที่หลายหน่วยรับผิดชอบร่วมกันต้องการความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่าย 5.มีงานที่ต้องการความริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อแสวงหาแนวทาง วิธีการและเป้าหมายใหม่
6.หน่วยงานต้องการสร้างบรรยากาศของความสามัคคีให้เกิดขึ้น

ส่วนประกอบของทีม

ในการทำงานเป็นทีม จะต้องประกอบด้วย หัวหน้าทีม สมาชิกทีมงานและเลขานุการ ทุกคนจะมี การสื่อสารกันแบบ 2 ทิศทาง (Two ways communication) ได้แก่ การส่งข้อมูลและการรับข้อมูล ทั้งการสื่อสารกับหัวหน้าและกับสมาชิกด้วยกันเองตลอดเวลา แต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้

1. หัวหน้าทีม
1.1 หัวหน้าทีมมีคุณลักษณะดังนี้
- เป็นที่ยอมรับนับถือของสมาชิกในกลุ่มด้วยความจริงใจเปิดเผย จริงใจ ซื่อสัตย์ และเป็นกันเอง
- ไม่ใช้อิทธิพลครอบงำกลุ่ม เป็นประชาธิปไตยไม่เผด็จการ
- มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในงานสูง
- สามารถดำเนินการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ไม่ผูกขาดการเป็นผู้นำกลุ่มตลอดเวลา
- พร้อมให้ความช่วยเหลือกลุ่ม
- สามารถสื่อสารผลงานของทีมให้สาธารณะชนเข้าใจได้
- มีวุฒิภาวะทางสังคม
- มีแรงจูงใจและแรงขับทางด้านความสำเร็จสูง
1.2 บทบาทและหน้าที่สำคัญของหัวหน้าทีม
- รับนโยบายจากองค์การ
- กำหนดเป้าหมาย แนวทางและขั้นตอนในการปฏิบัติ
- มอบหมายงานแก่สมาชิก
- สร้างบรรยากาศด้วยการจูงใจ เสริมแรง ให้กำลังใจ
- ใช้เทคนิคเผชิญความขัดแย้งไม่ว่าเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว
- อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆ- ประเมินผลงานและผู้ร่วมงาน
2. สมาชิกของทีมงาน
2.1 คุณลักษณะของสมาชิกของทีมงาน
- สามารถรับผิดชอบงานในหน้าที่ของตนและของกลุ่ม
- เป็นผู้รู้จักฟัง รู้จักพูด และแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม
- ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก
- เคารพมติของกลุ่ม และป้องกันมิให้เบี่ยงเบนมติของกลุ่มออกไป
- เป็นผู้เสียสละ อาสาช่วยทำงานทุกด้าน
- กล้าแสดงความคิดเห็น
2.2 บทบาทและหน้าที่สำคัญของสมาชิก
- รับมอบหมายงานจากหัวหน้าทีม
- ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบให้บรรลุเป้าหมายของทีมงาน
- ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาต่างๆ
- เป็นผู้ตามที่ดี
- ตั้งใจจริงในการทำงาน
- คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม
- คำนึงถึงความสำคัญของทีมงาน
3. เลขานุการ
3.1 คุณลักษณะของเลขานุกากลุ่ม
- มีความสามารถในการเขียนหนังสือดี
- สามารถจับประเด็นการพูด การปรึกษาหารือของกลุ่มได้ดี
- สามารถสรุปผลการประชุมและทำรายงานให้สมาชิกได้ทราบ
- มีความรู้และประสบการณ์ในการเสนอรายงานอย่างมีแบบแผน
- สามารถเขียนแผนผัง กราฟ ชาร์ท ได้
3.2 บทบาทและหน้าที่สำคัญของเลขานุการ
-รับคำสั่งจากหัวหน้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ส่งข่าวสารที่รับมาไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชาและถ่ายทอดสิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอให้นายได้รับรู้
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีแบบสร้างสรรค์ต่อทุกๆ คน

มิติในการพัฒนาทีมงาน
สต๊อทและวอล์คเคอร์ Stott and Walker, 1995: 82-84) ได้เสนอแนะรูปแบบ “สี่มิติ” ในการพัฒนาทีมงาน เพื่อเป็นการชี้นำแนวคิดประกอบการเสริมสร้างความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของผลการปฏิบัติงานของทีมงาน มิติทั้ง ๔ ประกอบด้วย 1. บุคคล
2. งาน
3. ทีมงาน
4. องค์การ
1.บุคคล (Individual) การพัฒนาทีมงานในระดับบุคคล ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจ ความผูกพันที่มีต่องาน ทัศนคติ ความสามารถและการมีส่วนร่วมของสมาชิกทีมงาน
2. งาน (Task)รายละเอียดของงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาทีมงาน ได้แก่ วัตถุประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย และ กระบวนการ ทำงาน ที่เป็นระบบ 3.ทีมงาน (Team) ทักษะต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการสร้างทีมงาน มีทั้งทักษะส่วนบุคคล และทักษะ ของกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ภาวะผู้นำ บทบาท การสื่อสาร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการจูงใจ การบริหารความขัดแย้ง การวิเคราะห์ปัญหา การตัดสิน การประชุมของ 4.องค์การ (Organization)สิ่งที่จำเป็นต้องปรับปรุงในองค์การ ได้แก่ โครงสร้างขององค์การ บรรยากาศในการทำงาน การให้ค่าตอบแทนและบำเหน็จรางวัล วัฒนธรรมองค์การ และการสนับสนุน ให้มีการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ

ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสร้างทีมงาน
จากการวิเคราะห์กิจกรรมต่างๆ ของมิติในการพัฒนาทีมงาน มีทักษะที่สัมพันธ์กับ การสร้างทีมงาน ดังนี้
1. ทักษะในการติดต่อสื่อสาร
2.ทักษะการปฏิสัมพันธ์
3.ทักษะการเป็นผู้นำทีมงาน
4.ทักษะในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ
5.ทักษะในการประชุมของทีมงาน
6.ทักษะในการบริหารความขัดแย้ง
เมื่อพิจารณาแต่ละทักษะจะเห็นว่าทั้งหมดมีพื้นฐานแนวคิดมาจากการศึกษาทางจิตวิทยา เกี่ยวกับมนุษย์และพฤติกรรม ซึ่งมีการศึกษาแตกแขนงออกไปได้หลายวิชา สำหรับเรื่องการสร้างทีมงานจะศึกษาในแนวคิดที่รวบรวมมาจาก 6ทักษะนี้ ซึ่งผู้เรียนต้องทำความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ในเบื้องต้นและค้นคว้าเพิ่มเติม จึงจะสามารถบูรณาการความรู้ (Integrate) และนำไปประยุกต์ใช้ได้


ขั้นตอนการสร้างทีมงาน
บันได คล้าย ๆ บันได 7 ขั้นของขั้นตอนของการสร้างให้เกิดพลังทีมงาน
1. จะต้องมีการกำหนดภารกิจหรืองานที่ทำก่อนว่ามีวัตถุประสงค์ของการทำงานมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิก แต่ละคนให้เกิดความชัดเจนว่าใครทำอะไร ที่ไหนอย่างไรในส่วนภารกิจของสมาชิกแต่ละคน 2. ต้องสร้างความเข้าใจและเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะข้อคิดเห็นต่าง ๆ และมีการตัดสินใจร่วมกัน เช่น วัตถุประสงค์ในการทำงานคืออะไร ทำไมจึงต้องทำงานนี้มาตรฐานอยู่ในระดับไหน ผลจากการสร้างความเข้าใจของสมาชิกให้ มีส่วนร่วมทำให้สมาชิกเกิดความผูกพันกับทีมงานและคือการสร้างความเข้าใจของสมาชิกให้มีส่วนร่วมทำให้สมาชิกเกิดความ ผูกพันกับทีมงานและคือการสร้างความเข้าใจบันไดที่ 2
3. เมื่อเกิดความเข้าใจตอนนี้มีการระดมความคิดแล้ว ระดมความคิดเพื่อให้เข้าใจในลักษณะของวัตถุประสงค์ของการทำงาน สิ่งที่ต้องการที่จะทำงานร่วมกัน ตลอดจนถึงเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ในขั้นนี้เป็นการระดมความคิดของสมาชิกทุก คนของทีมในเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานต่าง ๆ ทักษะการทำงานที่จำเป็น ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ต้องการ อัตราเสี่ยงกับผล ประโยชน์ที่เกิดขึ้น นั่นเป็นการระดมความคิดในแง่ของการทำงานในหน่วยงานนั้น ๆ
4. เลือกหรือคัดเลือกความคิด เป็นการพิจารณาความคิดที่ได้จากการระดมสมอง ตัวนี้ไม่ใช่เป็นการคัดเลือกความคิดของ ผู้นำเพียงคนเดียวหรือของคนใดคนเดียวในสมาชิก แต่เกิดขึ้นจากการระดมสมองโดยเฉพาะวิธีการปฏิบัติงานในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงานซึ่งผู้นำและสมาชิกในทีมเห็นว่าดีที่สุด
5. ต้องกำหนดเป็นแผนปฏิบัติงาน หมายถึงการวางแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้สมาชิกของทีมทุกคนรับ ทราบแผนงานตรงกันว่า ใครมีหน้าที่อะไร ที่ไหน เมื่อใด ผู้นำจะต้องแน่ใจว่าสมาชิกของทีมทุกคนเข้าใจ แต่ละคนมีหน้าที่ความรับ ผิดชอบอะไรบ้าง 6. การดำเนินงานตามแผนเมื่อมีการวางแผนเสร็จก็นำแผนนั้นไปดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้มีการคัดเลือกความคิดจาก การได้ระดมความคิดตรงนั้นมา
7. บันไดขั้นสุดท้ายมีการประเมินผล เป็นการสรุปผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของการทำงาน คุณภาพของผลงานเป็น ยังไง เกิดปัญหาอุปสรรคอะไรที่เกิดขึ้นแล้วสามารถที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ในลักษณะไหน มีทางเลือกอะไรบ้าง คือบันได 7 ขั้นตอน ของการสร้างทีมงาน

แนวทางการพัฒนาให้ทีมงานมีประสิทธิภาพ
เป็นวงจรของมันมีทั้งหมด 4 ระยะ
1. ระยะแรกคือระยะของการทำงานร่วมกันแล้วเป็นระยะที่ทีมงานจะต้องก่อตัว สมาชิกแต่ละคนก็จะมีความ แรก ๆ อาจจะ ไม่มั่นใจในการทำงานและอาจจะไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์หรือว่าเป้าหมาย ขั้นตอนนี้เราก็ต้องพยายามที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ ในเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานอาจจะมีปัญหาในเรื่องการสื่อสารกันหรือว่าบทบาทของผู้นำในระยะนี้จะต้องทำให้ สมาชิกทุกคนเกิดความสบายใจและก็แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อันนั้นคือระยะแรกของการ ทำงานร่วมกัน
2. ทำงานไประยะหนึ่งเกิดปัญหาคือระยะประสบปัญหา คือระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทีมงานที่มีปัญหาสังเกตได้จากผลการปฏิบัติ งานแล้วเกิดความขัดแย้งกันมากมายหรือเปล่า สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในทีมเป็นยังไง บรรยากาศตึงเครียดขนาดไหน ผู้นำก็มี ส่วนที่จะต้องแสดงบทบาทสำคัญในการที่จะเป็นผู้ริเริ่มให้สมาชิกยอมรับว่าทีม งานกำลังประสบปัญหานะจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา บางปัญหาจะต้องแก้ไขโดยทันที ปัญหาบางปัญหาก็อาจจะใช้ระยะเวลาในการที่จะค่อย ๆ หาปัญหาที่แท้จริงแล้วก็ช่วยกันแก้ไขให้ เกิดความสำเร็จลุล่วงตรงนั้นไป มันก็จะมีผลต่องาน
3. เมื่อระยะประสบปัญหาสามารถแก้ไขได้ เราก็ร่วมกันช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยจะต้องพิจารณาและคำนึงถึงผลประโยชน์ของทีมเป็นส่วนรวม
4. สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดโดยปราศจากความมีอคติ สุดท้ายอาจจะจัดระบบข้อมูลต่าง ๆ จัดโครงสร้างใหม่ ของทีมงาน

-หลักการการสร้างแรงจูงใจ

หลักการการสร้างแรงจูงใจ

ความคิดรวบยอด

----

จุดประสงค์การเรียนรู้
211 บอกความหมายการแรงใจและการจูงใจได้
212 บอกความสำคัญการจูงใจได้
213 บอกลักษณะแรงจูงใจได้
214 บอกธรรมชาติของแรงจูงใจได้
215 สามารถจำแนกแรงจูงใจได้
216 บอกทฤษฏีแรงจูงใจได้

-แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ

ความคิดรวบยอด
---

จุดประสงค์การเรียนรู้
111 บอกความหมายและลักษณะภาวะผู้นำได้
112 บอกความสำคัญของการบริหารโครงการได้
113 บอกผู้นำกับการจูงใจในองค์การได้
114 บอกทฤษฏีภาวะผู้นำในลักษณะต่างๆได้

วิชาภาวะผู้นำและการสร้างแรงจูงใจ

ภาวะผู้นำและการสร้างแรงจูงใจ
แผนก การจัดการทั่วไป สาขาบริหารธุรกิจ
โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร


1. หลักสูตร (Program) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 (เพิ่มเติม พ.ศ.2549)
2. รหัสวิชา (Course Code) 3207 - 2011
3. ชื่อวิชา (Course Title) ภาวะผู้นำและการสร้างแรงจูงใจ
4. จำนวนหน่วยกิต (Credit) 3 5. ปีการศึกษา (Semester) 2552
6. พื้นฐาน -
7. เวลาเรียน 2 คาบ แบ่งเป็น ทฤษฎี ....2....คาบ ปฏิบัติ ...............คาบ
8. ผู้สอน อาจารย์พิมล บุญเลิศ
เวลา/ห้องเรียน ..................................../............................................

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
1. มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของภาวะผู้นำ
2. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติของผู้นำที่ดี
3. ตระหนักถึงการเป็นผู้นำที่ดี
มาตรฐานรายวิชา
1. บอกลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี
2. ปฏิบัติงานตามลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี
3. ใช้หลักภาวะผู้นำในการบริหารงานบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำในระดับต่าง ๆ ขององค์การลักษณะของผู้นำที่ดี การจูงใจ การสร้างขวัญกำลังใจ การสร้างทีมงาน การระสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ การตัดสินใจ การติดต่อสื่อสาร และการใช้เทคนิคการเป็นผู้นำในองค์การ